จังหวัดสงขลา สรุปสถานการณ์ความเสียหายจากพายุโซนร้อน “ปาบึก” (PABUK)

Spread the love

จังหวัดสงขลา สรุปสถานการณ์ความเสียหายจากพายุโซนร้อน “ปาบึก” (PABUK) พร้อมติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์พายุโซนร้อน”ปาบึก” (PABUK)อย่างต่อเนื่องแม้สถานการณ์เริ่มคลี่คลาย

วันนี้ (5 ม.ค. 62) ณ ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์พายุ “ปาบึก” (PABUK) จังหวัดสงขลา นายวีรนันทน์  เพ็งจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ในฐานะผู้บัญชาการเหตุการณ์พายุ “ปาบึก” (PABUK) สรุปสถานการณ์ความเสียหายจากพายุโซนร้อน “ปาบึก” (PABUK) พร้อมติดตามเฝ้าระวังเหตุการณ์พายุโซนร้อน”ปาบึก” (PABUK) อย่างต่อเนื่องแม้สถานการณ์น้ำเริ่มคลี่คลาย โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา  ปลัดจังหวัดสงขลา สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสงขลา ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก  องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา สำนักงานประชาสัมพันธ์  ทัพเรือภาคที่ 2 สำนักงานชลประทานที่ 16  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

            สำหรับพายุโซนร้อน ปาบึก ได้ส่งผลกระทบต่อจังหวัดสงขลาจำนวน 9 อำเภอ ได้แก่อำเภอระโนด สทิงพระ กระแสสินธุ์ สิงหนคร เมืองสงขลา ควนเนียง รัตภูมิ นาหม่อมและเทพา โดยอำเภอระโนด ได้เกิดวาตภัยคลื่นลมแรงสูงประมาณ 3-5 เมตรทำให้เกิดน้ำกัดเซาะบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทยได้รับความเสียหายในพื้นที่ตำบลท่าบอน หมู่ที่ 2,3,4และ5 ตำบลคลองแดน หมู่ที่ 1 ตำบลระวะหมู่ที่ 45,6และ7 ตำบลปากแตระ หมู่ที่ 3,4 และ 5 ตำบลบ่อตรุ หมู่ที่ 12 และ 3 และตำบลวัดสนหมู่ที่ 1 ทำให้ราษฎรได้รับความเดือดร้อนประมาณ 6,049 ครัวเรือน จำนวน 19,156 คน

อำเภอสทิงพระได้รับความเสียหายในพื้นที่ตำบลสทิงพระกระดังงาบ่อแดงท่าหินครองลีสนามชัยและตำบลดีหลวง บ้านเรือนเสียหายบางส่วน จำนวน 11 หลัง คอกวัวเสียหายจำนวน 1 คอกและโรงคลุมฟาร์มเพาะเห็ด จำนวน 1 หลัง

อำเภอเทพา เนื่องจากมีฝนตกหนักบางพื้นที่ส่งผลให้น้ำกัดเซาะผิวจราจรช่วงบ้านกระอาน-ควนกรอย ตำบลท่าม่วง  ทำให้ท่อระบายน้ำและผิวจราจรเสียหายบางส่วน สัญจรได้เฉพาะรถจักรยานยนต์ ขณะนี้ได้ปิดเส้นทางการจราจรเพื่อความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่ สำหรับอำเภอเมืองสงขลา รัตภูมิ ควนเนียงและนาหม่อมได้รับความเสียหายจากเสาไฟฟ้าหักโค่นและมีต้นไม้หักล้มกีดขว้างเส้นทางการจราจร ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการแก้ไขเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนพื้นที่อำเภอสิงหนครและกระแสสินธุ์ยังอยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหายและยังไม่มีรายงานผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต

ในการอพยพผู้ประสบภัยพื้นที่เสี่ยงมีจำนวน 6 อำเภอ ประกอบด้วยอำเภอระโนด สิงหนคร สทิงพระ กระแสสินธุ์ เทพาและอำเภอเมือง จำนวน 56 แห่ง 305 ครัวเรือน 5,622 คน ขณะนี้ประชาชนผู้อพยพได้เดินทางกลับบ้านทุกอำเภอเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คาดว่าสถานการณ์เริ่มคลี่คลายไปในทิศทางที่ดี แต่ยังคงมีฝนตกเล็กน้อยในบางอำเภอของคาบสมุทรสทิงพระ ซึ่งภายใน 1-2 วันนี้จังหวัดสงขลาจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics