ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนสิงหาคม 2566   

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนสิงหาคม 2566   
Spread the love

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนสิงหาคม 2566              

                      ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้ดำเนินการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงของ  สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในภาคใต้ เก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 420 ตัวอย่าง

              ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนสิงหาคม 2566 เปรียบเทียบเดือนกรกฎาคม 2566 และคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า

 

รายการข้อคำถาม กรกฎาคม 2566 สิงหาคม 2566 คาดการณ์ใน 3 เดือนข้างหน้า
เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/
ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 28.60 47.30 24.10 28.40 47.10 24.50 37.40 45.20 17.40
2. รายได้จากการทำงาน 28.10 47.60 24.30 27.80 47.80 24.40 34.10 55.80 10.10
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 29.70 48.20 22.10 29.80 48.40 21.80 32.10 50.70 17.20
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 28.30 44.20 27.50 28.20 44.50 27.30 30.10 54.60 15.30
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 27.10 48.40 24.20 27.00 47.20 25.80 33.80 46.50 19.70
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 25.40 47.40 27.20 25.20 47.10 27.70 34.30 48.50 17.20
7. การออมเงิน 26.20 47.30 26.50 26.00 46.60 27.40 34.20 57.20 8.60
8. การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ 27.90 46.10 26.00 27.70 46.20 26.10 30.20 46.20 23.60
9. การลดลงของหนี้สิน 28.10 47.00 24.90 27.90 47.10 25.00 34.50 49.30 16.20
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 26.80 47.50 25.70 26.50 47.20 26.30 36.20 52.10 11.70
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 26.10 44.60 29.30 25.70 45.80 28.50 30.30 48.60 21.10
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 27.20 45.90 26.90 27.10 45.30 27.60 37.10 48.50 14.40
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 28.40 48.10 23.50 28.20 47.70 24.10 31.40 46.50 22.10
                       

  

 ความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนมิถุนายน กรกฎาคม และสิงหาคม 2566

รายการข้อคำถาม 2566
มิถุนายน กรกฎาคม สิงหาคม
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 49.10 48.60 48.20
2. รายได้จากการทำงาน 43.90 43.50 43.30
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 58.50 58.80 58.90
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 49.20 48.40 48.10
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 50.30 50.10 49.90
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 42.80 42.70 42.50
7. การออมเงิน 41.10 41.00 40.80
8. การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ 39.30 39.20 39.10
9. การลดลงของหนี้สิน 48.00 47.80 47.40
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 44.10 44.10 44.00
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 40.00 39.80 39.70
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 35.30 35.70 35.20
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 36.20 36.10 36.00
14. ความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวม 45.10 44.70 44.10

ผศ.ดร.วิวัฒน์  จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ รายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวมเดือนสิงหาคม (44.10) ปรับตัวลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกรกฎาคม (44.70) และเดือนมิถุนายน  (45.10) โดยดัชนีที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม รายได้จากการทำงาน รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว  ความสุขในการดำเนินชีวิต  ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ การลดลงของหนี้สิน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  การแก้ปัญหายาเสพติด  การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยปัจจัยลบที่สำคัญ ได้แก่ ความชัดเจนของนโยบายในการดำเนินงานของรัฐบาลใหม่ที่ยังไม่มีความแน่นอน เนื่องจากเป็นรัฐบาลผสมแบบข้ามขั้ว ที่ยังคงมีรูปแบบในการทำงานแบบเก่า เมื่อได้จัดสรรโควตารัฐมนตรีให้แต่ละพรรคแล้ว  ต่างคนก็ต่างทำงานตามนโยบายและแนวทางพรรคตนเอง โดยไม่ได้เป็นรัฐบาลที่มีการบูรณาการในการทำงานร่วมกัน ซึ่งอาจทำให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน  อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนของภาคธุรกิจ และความเชื่อมั่นของประชาชนต่อนโยบายรัฐบาล ว่าจะทำได้ตามที่ได้หาเสียงไว้หรือไม่

นอกจากนี้ จากการสำรวจ พบว่า แนวโน้มหนี้ครัวเรือนสะสมสูงเกิน 80% ของ GDP  ซึ่งส่งผลต่อกำลังซื้อที่ลดลงของประชาชนอย่างชัดเจน อีกทั้ง ประชาชนจำนวนมากที่เป็นหนี้ และยังต้องการกู้เงินเพิ่ม เพื่อนำเงินไปชำระดอกเบี้ยและเงินต้นของหนี้เดิม  โดยพฤติกรรมดังกล่าวมีความแตกต่างจากในอดีตที่ประชาชนส่วนใหญ่กู้เงินเพื่อนำมาชำระค่าอาหารและสิ่งของจำเป็นในชีวิตประจำวัน  ซึ่งจากพฤติกรรมของลูกหนี้ที่เปลี่ยนไป สะท้อนถึงปัญหาของหนี้ครัวเรือนที่รุนแรงมากขึ้น หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ย่อมส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อเศรษฐกิจของประเทศ

จากการสัมภาษณ์ประชาชนภาคใต้ในหลายสาขาอาชีพ เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับความคาดหวังและความต้องการของประชาชน มีดังนี้

  1. ประชาชนต้องการให้รัฐบาลใหม่รีบเข้ามาแก้ไขปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากการปรับลดค่าไฟฟ้า และค่าพลังงานแบบทันทีที่เข้ามาบริหารประเทศ
  2. ครัวเรือนจำนวนมากมีหนี้สิน ซึ่งเกิดในช่วงโควิด-19 ถึงแม้ว่าสถานการณ์โควิด-19 ได้คลี่คลายแล้ว แต่หนี้ครัวเรือนยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น ทั้งจากแหล่งเงินกู้ในระบบและนอกระบบ ซึ่งประชาชนคาดหวังให้รัฐบาลใหม่กำหนดนโยบายช่วยเหลือหนี้ครัวเรือนอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบที่ดอกเบี้ยสูงเกินกว่ากฎหมายกำหนด
  3. ประชาชนมองว่า นโยบายกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท ซึ่งคาดว่าจะเริ่มใช้ได้ในช่วงเดือนเมษายนของปีหน้านั้น ประชาชนต้องการให้รัฐบาลใหม่ออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ด้วย เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชนและพลิกฟื้นเศรษฐกิจของประเทศ
  4. ประชาชนส่วนหนึ่งมีความกังวลต่อการทำงานร่วมกันของรัฐบาลผสมข้ามขั้วที่มีนโยบายแตกต่างกัน โดยประชาชนต้องการให้รัฐบาลจัดทำ MOU ร่วมกันในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยมุ่งเน้นประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ

                ผลคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และรายได้จากการทำงานเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 37.40 และ 34.10 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นต่อรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน และรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ในอีก 3 เดือนข้างหน้าเพิ่มขึ้น คิดเป็น ร้อยละ 32.10 และ 30.10 ตามลำดับ ในขณะที่ความเชื่อมั่นด้านความสุขในการดำเนินชีวิต การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้าเพิ่มขึ้น  คิดเป็นร้อยละ 33.80

37.10 และ 31.40 ตามลำดับ

                สิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบ และต้องการให้รัฐบาลใหม่ดำเนินการอย่างเร่งด่วน คือ           1) การช่วยลดค่าไฟฟ้าและพลังงาน  2) การกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งระบบ  3) การช่วยเหลือราคาพืชผลทางการเกษตร 4)  การเพิ่มบำนาญผู้สูงอายุ  และ 5) การเพิ่มสวัสดิการให้กับประชาชน

 

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics