ธนาคารชาติ สนง.ภาคใต้ จัดแถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ ไตรมาส 2 ปี 2566

ธนาคารชาติ สนง.ภาคใต้ จัดแถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ ไตรมาส 2 ปี 2566
Spread the love

เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2566    เวลา 10.00 – 11.00 น. ณ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้  ได่จัดแถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ ไตรมาส 2 ปี 2566  ณ ห้องประชุมชั้น 2 สถานสวัสดิสงเคราะห์ ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้  โดย นางสาวโสภี  สงวนดีกุล  ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักงานภาคใต้

ธนาคารชาติ สนง.ภาคใต้ จัดแถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ ไตรมาส 2 ปี 2566

 

  • เศรษฐกิจใต้ ไตรมาส2/66 ยังอยู่ในทิศทางฟื้นตัว จากภาคบริการ ตามนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น การส่งออกหดตัวตามอุปสงค์ประเทศคู่ค้าที่ชะลอลง โดยเฉพาะสหรัฐฯ ยุโรป และ ญี่ปุ่น ส่งผลให้การลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ยังคงหดตัว
  •  💰 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 0.74% ลดลงจากไตรมาสก่อน ตามราคาพลังงานที่ลดลงเป็นสำคัญ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานสูงปีก่อน
  • เศรษฐกิจภาคใต้ขยายตัวจากปีก่อน
  • จากการอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รวมถึงการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว ส่วนหนึ่งได้รับผลดีจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ ส่งผลให้การจ้างงานทยอยปรับดีขึ้น
  • เช่นเดียวกับการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวมากขึ้น
  • อย่างไรก็ตาม ยังมีแรงกดดันจากค่าครองชีพที่สูงและแรงส่งจากรายได้เกษตรกรที่ชะลอลง
  • ด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวชะลอลงตามภาวะเศรษฐกิจคู่ค้าที่ชะลอตัว

รายได้เกษตรกร ขยายตัวชะลอลง

             โดยด้านราคาชะลอลงมากโดยเฉพาะราคายางที่ชะลอลงจากความต้องการที่ลดลง และปาล์มน้ำมันลดลงจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้น  ขณะที่ด้านผลผลิตชะลอลงเล็กน้อย จากทุเรียนเนื่องจาก   ฝนตกชุก

ภาคอุตสาหกรรม ขยายตัวชะลอลง

            ตามภาวะเศรษฐกิจคู่ค้าที่ชะลอตัว โดยเฉพาะ ยางพาราแปรรูป เนื่องจากการผลิตยางล้อลดลง ขณะเดียวกันถุงมือยางและพาร์ติเคิลบอร์ดหดตัว อย่างไรก็ดี การผลิตอาหารทะเลขยายตัวได้    ผลดีจากการเปิดประเทศของตลาดญี่ปุ่น

การท่องเที่ยว กลับมาขยายตัว

            จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ผลดีจากการเปิดประเทศและการเพิ่มเที่ยวบิน ขณะเดียวกันนักท่องเที่ยวไทยเดินทางต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งได้อานิสงค์จากโครงการเราเที่ยวด้วยกัน 

การอุปโภคบริโภค กลับมาขยายตัว

             โดยเฉพาะการใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภค ผลดีจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง และมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยกดดันกำลังซื้อจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น

การลงทุนภาคเอกชน ขยายตัวมากขึ้น

             ตามการลงทุนเครื่องจักร โดยเฉพาะการนำเข้าเครื่องจักรในการผลิตยางแปรรูปที่เร่งขึ้นในช่วงต้นปี รวมถึงการลงทุนก่อสร้างที่เติบโตดี จากการลงทุนประเภทที่อยู่อาศัย

การค้าผ่านด่านศุลกากร กลับมาหดตัว

              โดยการส่งออกหดตัวในหมวดสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม ขณะที่การนำเข้าชะลอลงทุกหมวด ผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจคู่ค้า

อัตราเงินเฟ้อ สูงขึ้น ตามราคาอาหารสด พลังงานและเงินเฟ้อพื้นฐานที่ปรับสูงขึ้น

ตลาดแรงงาน ปรับดีขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว สะท้อนจากจำนวนผู้มีงานทำปรับพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสาขาที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics