ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนกรกฎาคม 2566    

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนกรกฎาคม 2566    
Spread the love

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนกรกฎาคม 2566           

                      ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้ดำเนินการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงของ  สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในภาคใต้ เก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 420 ตัวอย่าง

              ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนกรกฎาคม 2566 เปรียบเทียบเดือนมิถุนายน 2566 และคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า

 

รายการข้อคำถาม มิถุนายน 2566 กรกฎาคม 2566 คาดการณ์ใน 3 เดือนข้างหน้า
เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/
ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 29.10 47.60 23.30 28.60 47.30 24.10 34.30 45.60  20.10
2. รายได้จากการทำงาน 28.40 48.10 23.50 28.10 47.60 24.30 35.60 45.80 18.60
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 29.20 48.00 22.80 29.70 48.20 22.10 30.50 43.80 25.70
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 28.20 45.00 26.80 28.30 44.20 27.50 36.10 52.00 11.90
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 27.50 47.40 25.10 27.10 48.40 24.40 35.80 52.10 12.10
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 25.70 47.90 26.40 25.40 47.40 27.40 30.60 52.40 17.00
7. การออมเงิน 26.10 48.60 25.30 26.20 47.30 26.50 32.20 47.50 20.30
8. การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ 28.10 46.40 25.50 27.90 46.10 26.00 34.50 51.30 14.20
9. การลดลงของหนี้สิน 28.20 47.50 24.30 28.10 47.00 24.90 30.80 46.40 22.80
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 27.20 48.80 23.80 26.80 47.50 25.70 30.40 48.90 20.70
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 26.20 45.60 28.20 26.10 44.60 29.30 30.30 48.60 21.10
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 27.40 45.20 27.40 27.20 45.90 26.90 34.60 45.20 20.20
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 28.60 48.20 23.20 28.40 48.10 23.50 34.30 45.60  20.10
                       

   

 ความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนพฤษภาคม มิถุนายน และกรกฎาคม 2566

รายการข้อคำถาม 2566
พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 49.70 49.10 48.60
2. รายได้จากการทำงาน 45.60 43.90 43.50
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 58.70 58.50 58.80
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 49.70 49.20 48.40
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 50.90 50.30 50.10
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 43.20 42.80 42.70
7. การออมเงิน 41.40 41.10 41.00
8. การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ 39.50 39.30 39.20
9. การลดลงของหนี้สิน 48.10 48.00 47.80
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 44.50 44.10 44.10
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 40.30 40.00 39.80
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 35.10 35.30 35.70
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 36.50 36.20 36.10
14. ความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวม 46.40 45.10 44.70

ผศ.ดร.วิวัฒน์  จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ รายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวมเดือนกรกฎาคม (44.70) ปรับตัวลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมิถุนายน (45.10) และเดือนพฤษภาคม  (46.40) โดยดัชนีที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม รายได้จากการทำงาน รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว  ความสุขในการดำเนินชีวิต  ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) การออมเงิน การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ การลดลงของหนี้สิน การแก้ปัญหายาเสพติด  และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยปัจจัยลบที่สำคัญ ได้แก่  ปัญหาหนี้สินสะสมของภาคครัวเรือนและธุรกิจที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการใช้จ่ายเงินที่เพิ่มขึ้นในการฟื้นฟูธุรกิจหลังจากโควิด-19  นอกจากนี้ สถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันอยู่ในช่วงชะลอตัว เนื่องจากเป็นช่วงรัฐบาลรักษาการจึงไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรม และขาดการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ส่งผลให้เงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจมีน้อย ทำให้ประชาชนมีรายได้น้อยไม่เพียงพอกับภาระหนี้สินที่มีอยู่     อีกทั้งค่าครองชีพที่อยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอีก  ขณะที่ประชาชนส่วนหนึ่งรายได้เท่าเดิมหรือลดลง จึงเพิ่มความเสี่ยงให้ประชาชนกลุ่มนี้อาจจะต้องก่อหนี้สินเพิ่มขึ้น เพื่อความอยู่รอดในสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน

ประชาชนมองว่าสถานการณ์การเมืองช่วงนี้มีความไม่แน่นอนมาก  โดยมองว่า นักการเมืองในปัจจุบันแบ่งออกเป็นหลายฝ่าย โดยแต่ละฝ่ายก็มีความต้องการผลประโยชน์ ซึ่งในขณะนี้ยังไม่สามารถแบ่งปันผลประโยชน์ได้อย่างลงตัว  โดยมีนักการเมืองส่วนหนึ่งจ้องแต่จะกอบโกยผลประโยชน์ให้แก่ตนเองและ         พรรคพวก มากกว่าผลประโยชน์ของประชาชน  และมักใช้ประชาชนเป็นข้ออ้าง  ซึ่งประชาชนในยุคปัจจุบันนี้สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้รู้ไส้รู้พุงของนักการเมืองเหล่านี้เป็นอย่างดี  โดยประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้มีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศอย่างรวดเร็ว เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ และช่วยเหลือปัญหาปากท้องของประชาชน ซึ่งเป็นวิกฤตอยู่ในขณะนี้   ถึงแม้ว่าการจัดตั้งรัฐบาลจะมีความล่าช้ามาก แต่ประชาชนคาดหวังว่าประเทศไทยจะมีนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีชุดใหม่พร้อมปฏิบัติหน้าที่ได้ในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน 2566  ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการจัดทำงบประมาณประจำปี 2567 และทำให้ภาคธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศรู้ทิศทางนโยบายในการพัฒนาประเทศ เกิดความเชื่อมั่น และกล้าตัดสินใจในการลงทุน  โดยรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศควรเร่งดำเนินนโยบายตามที่ได้หาเสียงไว้ เช่น การกระตุ้นเศรษฐกิจ การลดราคาพลังงาน  การเพิ่มสวัสดิการแบบครบวงจร การลดความเหลื่อมล้ำ  การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่   เป็นต้น

จากการสัมภาษณ์ประชาชนภาคใต้ในหลายสาขาอาชีพ เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับความคาดหวังและความต้องการของประชาชน มีดังนี้

  1. ประชาชนมีความกังวลต่อการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่ล่าช้า เพราะส่งผลให้ภาคธุรกิจและนักลงทุนขาดความเชื่อมั่น ทำให้ต้องชะลอการลงทุน รวมถึงผู้บริโภคก็ชะลอการใช้จ่ายเช่นกัน  ทั้งนี้ ประชาชนยังเฝ้ารอความชัดเจนของรัฐบาลชุดใหม่  โดยคาดหวังให้รัฐบาลใหม่เป็นรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ และขอให้จัดตั้งได้อย่างรวดเร็ว  
  2. ประชาชนมีความกังวลต่อการจัดตั้งรัฐบาลข้ามขั้วทางการเมือง ซึ่งหากไม่เป็นไปตามที่ประชาชนส่วนหนึ่งคาดหวังไว้ อาจทำให้เกิดมวลชนที่เป็นฝ่ายตรงกันข้ามกับรัฐบาลทำการประท้วง ลงถนน เพื่อแสดงออก และอาจมีมวลชนบางกลุ่มใช้ความรุนแรงจนเกิดเหตุการณ์ลุกลามบานปลาย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก
  3. ครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำถึงปานกลางจำนวนมากยังมีปัญหาหนี้สิน ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์โควิด-19 และยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้  ตลอดจนยังเกิดหนี้ใหม่ในช่วงนี้ จนกลายเป็นภาระหนี้สินครัวเรือนสะสม  ทั้งนี้ ประชาชนต้องการให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือและแก้ปัญหาอย่างจริงจัง  โดยการกำหนดเป็นนโยบายช่วยเหลือปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อลดปัญหาหนี้สินเรื้อรังของครัวเรือนแบบยั่งยืน

                ผลคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และรายได้จากการทำงานเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 34.30 และ 35.60 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นต่อรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน และรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ในอีก 3 เดือนข้างหน้าเพิ่มขึ้น คิดเป็น ร้อยละ 30.50และ 36.10 ตามลำดับ ในขณะที่ความเชื่อมั่นด้านความสุขในการดำเนินชีวิต การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้าเพิ่มขึ้น  คิดเป็นร้อยละ 35.80 34.60 และ 34.30 ตามลำดับ

                สิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบ และต้องการให้รัฐบาลใหม่ดำเนินการอย่างเร่งด่วน คือ           1) การกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งระบบ  2) การช่วยลดค่าไฟฟ้าและพลังงาน  3) การเพิ่มบำนาญผู้สูงอายุ  4) การเพิ่มสวัสดิการประชาชน  และ 5) การส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบไทยเที่ยวไทย

 

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics