ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนมิถุนายน 2566  

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนมิถุนายน 2566  
Spread the love

ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนมิถุนายน 2566             

                      ศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ได้ดำเนินการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงของ  สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนในภาคใต้ เก็บแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 420 ตัวอย่าง

 

              ผลการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนมิถุนายน 2566 เปรียบเทียบเดือนพฤษภาคม 2566 และคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า

 

รายการข้อคำถาม พฤษภาคม 2566 มิถุนายน 2566 คาดการณ์ใน 3 เดือนข้างหน้า
เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/ เพิ่มขึ้น/ คงที่/ ลดลง/
ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง ดีขึ้น เท่าเดิม แย่ลง
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 29.50 48.20 22.30 29.10 47.60 23.30 36.50 50.40 13.10
2. รายได้จากการทำงาน 28.90 48.10 23.00 28.40 48.10 23.50 34.10 55.80 10.10
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 29.60 48.80 21.60 29.20 48.00 22.80 35.40 48.30 16.30
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 28.50 44.40 27.10 28.20 45.00 26.80 37.10 48.50 14.40
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 27.80 48.80 23.40 27.50 47.40 25.10 32.80 35.70 31.50
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 26.60 48.20 25.20 25.70 47.90 26.40 35.60 45.80 18.60
7. การออมเงิน 26.80 48.50 24.70 26.10 48.60 25.30 30.10 54.60 15.30
8. การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ 28.60 46.60 24.80 28.10 46.40 25.50 34.20 57.20 8.60
9. การลดลงของหนี้สิน 28.40 48.20 23.40 28.20 47.50 24.30 35.80 52.10 12.10
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 27.30 47.20 25.50 27.20 48.80 23.80 37.40 45.20 17.40
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 26.50 43.20 30.30 26.20 45.60 28.20 30.30 48.60 21.10
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 27.10 45.30 27.60 27.40 45.20 27.40 32.10 50.70 17.20
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 29.70 48.90 21.40 28.60 48.20 23.20 36.10 52.00 11.90
                       

  ความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ด้านเศรษฐกิจและสังคม เดือนเมษายน พฤษภาคม และมิถุนายน 2566

รายการข้อคำถาม 2566
เมษายน พฤษภาคม มิถุนายน
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม 49.30 49.70 49.10
2. รายได้จากการทำงาน 44.20 45.60 43.90
3. รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครอบครัว 58.60 58.70 58.50
4. รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว เช่น การเดินทาง ที่พัก อาหาร และอื่น ๆ 49.80 49.70 49.20
5. ความสุขในการดำเนินชีวิต 50.70 50.90 50.30
6. ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) 42.90 43.20 42.80
7. การออมเงิน 41.30 41.40 41.10
8. การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ 39.70 39.50 39.30
9. การลดลงของหนี้สิน 48.20 48.10 48.00
10. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 44.40 44.50 44.10
11. การแก้ปัญหายาเสพติด 40.10 40.30 40.00
12. การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 35.20 35.10 35.30
13. การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 36.30 36.50 36.20
14. ความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวม 45.80 46.40 45.10

ผศ.ดร.วิวัฒน์  จันทร์กิ่งทอง ผู้จัดการศูนย์วิจัยนวัตกรรมทางธุรกิจ รายงานผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนในภาคใต้ ด้านเศรษฐกิจและสังคม พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของประชาชนโดยรวมเดือนมิถุนายน (45.10) ปรับตัวลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม (46.40) และเดือนเมษายน 2566 (45.80) โดยดัชนีที่มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม รายได้จากการทำงาน รายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในครอบครัว  รายจ่ายด้านการท่องเที่ยว  ความสุขในการดำเนินชีวิต  ฐานะการเงิน (รายได้หักรายจ่าย) การออมเงิน การรักษามาตรฐานค่าครองชีพ การลดลงของหนี้สิน ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การแก้ปัญหายาเสพติด  และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ โดยปัจจัยลบที่สำคัญ ได้แก่  การชะลอตัวของเศรษฐกิจโดยภาพรวมช่วงกลางปีที่ การบริโภคด้านต่าง ๆ เผชิญกับปัจจัยเสี่ยง ประชาชนมีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับรายได้จากยอดขายหรือผลประกอบการที่ลดลง เนื่องจากค่าครองชีพที่อยู่ในระดับสูงได้กดดันกำลังซื้อของผู้บริโภคให้ลดลง และสะท้อนว่าแม้เศรษฐกิจจะอยู่ในช่วงของการฟื้นตัว แต่เป็นลักษณะการฟื้นตัวแบบไม่ทั่วถึง ประชาชนอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังได้รับความเดือดร้อนและต้องการให้รัฐบาลใหม่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน

ทั้งนี้ ประชาชนมีความกังวลถึงการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่ยังมีความไม่แน่นอน และอาจล่าช้าได้ ถึงแม้ว่าการประกาศรับรองผลการเลือกตั้งทำได้เร็วกว่าที่คาดไว้  โดยจะมีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ในวันอังคารที่ 4 กรกฎาคม 2566 นี้ ซึ่งในช่วง 3 เดือนหลังจากนี้ หากยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจทุกอย่างแทบจะหยุดนิ่ง ส่งผลให้การลงทุนและการบริโภคจะชะลอตัวไปถึงไตรมาส 4  ทั้งนี้ หากการตั้งรัฐบาลใหม่ถูกลากยาวออกไปอีก ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในประเทศและปากท้องของประชาชนเป็นอย่างมาก  ในทางกลับกันหากการจัดตั้งรัฐบาลเป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว ย่อมส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศและความเชื่อมั่นในภาพรวม ​ ซึ่งหากรัฐบาลใหม่สามารถดำเนินนโยบายตามที่ได้เคยหาเสียงไว้ โดยเฉพาะนโยบายที่เกี่ยวกับการกระตุ้นเศรษฐกิจ  ย่อมทำให้นักธุรกิจและนักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นที่จะกล้าตัดสินใจลงทุนในประเทศไทย อันจะช่วยในการสร้างงานและสร้างรายได้แก่ประชาชนได้มากขึ้น  

จากการสัมภาษณ์ประชาชนภาคใต้ในหลายสาขาอาชีพ เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับความคาดหวังและความต้องการของประชาชนต่อนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม  มีดังนี้

  1. ประชาชนต้องการเห็นความชัดเจนของการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ และต้องการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม และช่วยกันผลักดันให้การจัดตั้งรัฐบาลใหม่เป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว เพื่อให้รัฐบาลใหม่ได้เร่งดำเนินงานขับเคลื่อนโยบายเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามที่ได้หาเสียงไว้
  2. จากค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นและสภาวะหนี้สินครัวเรือนสะสมที่สูงขึ้น ประชาชนต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาเรื่องค่าแรงหรือค่าครองชีพ เช่น การมีมาตรการในการดูแลช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เพิ่มสวัสดิการให้กับผู้มีรายได้น้อยเพื่อลดค่าใช้จ่าย และการช่วยเพิ่มเบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุ
  3. ประชาชนต้องการให้รัฐบาลใหม่ช่วยเหลือเกษตรกร เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรลดลงอย่างต่อเนื่อง  อันเนื่องจากความต้องการของประเทศคู่ค้าที่ลดลง

                ผลคาดการณ์ในอีก 3 เดือนข้างหน้า พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เชื่อว่าภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และรายได้จากการทำงานจะเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 36.50 และ 34.10 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นต่อรายจ่ายเพื่อซื้อสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน และรายจ่ายด้านการท่องเที่ยว ในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้นคิดเป็น ร้อยละ 35.40 และ 37.10 ตามลำดับ ส่วนความเชื่อมั่นด้านความสุขในการดำเนินชีวิต การแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้า จะเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 32.80

32.10 และ 36.10 ตามลำดับ

                สิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบ และต้องการให้รัฐบาลใหม่ดำเนินการอย่างเร่งด่วน คือ        1) การช่วยลดค่าไฟฟ้าและสาธารณูปโภค 2) การเพิ่มบำนาญผู้สูงอายุ  3) การเพิ่มสวัสดิการแก่ประชาชนทั่วหน้า  และ  4) การปราบการทุจริตและคอรัปชั่นของหน่วยงานภาครัฐ

 

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics