แถลงข่าวครบรอบ 30 ปี ท่าอากาศยานหาดใหญ่

Spread the love

วันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม  2561  นายกฤติยา  ก้อนทอง  ผู้อำนวยการท่าอากาศยานหาดใหญ่ พร้อมด้วย่นายชูวิทย์  พันธุ์เณร  รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานหาดใหญ่(ด้านสนับสนุนธุรกิจ) และนายเสรี  เดชะตุงคะ  รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานหาดใหญ่ (ด้านปฏิบัติการและบำรุงรักษา)  ร่วมแถลงข่าวครบรอบการดำเนินงาน 30 ปีท่าอากาศยานหาดใหญ่   โดยในช่วงเช้า ผู้บริหาร พนักงานและลูกจ้าง ทหญ. ่ร่วมกันประกอบพิธีทางศาสนา ณ อาคารอเนกประสงค์ ทหญ. โดยมีสื่อมวลชน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการ สายการบิน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมแสดงความยินดีอย่างคับคั่่ง

นายกฤติยา  ก้อนทอง (ผหญ.) กล่าวว่า ทหญ. ถูกกำหนดยุทธศาสตร์ให้เป็นประตูสู่ภาคใต้สุดของไทย  ทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมต่อและเปลี่ยนโหมดการเดินทางจากทางอากาศสู่ทางบกสำหรับการเดินทางสู่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ สงขลา สตูล นราธิวาส ยะลา และปัตตานี ่รวมถึงประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์  มีสายการบินที่ให้บริการเส้นทางบินภายในประเทศ จำนวน 8 สายการบิน ได้แก่ สายการบินไทยสมายล์  นกแอร์ ไทยไลอ้อนแอร์  ไทยแอร์เอเซีย  บางกอกแอร์เวย์  นำผู้โดยสารเดินทางสู่ดอนเมือง  สุวรรณภูมิ  เชียงใหม่  เชียงราย  อุดรธานี  ขอนแก่น  อู่ตะเภา และภูเก็ต และเส้นทางบินระหว่างประเทศ จำนวน 4 สาย การบิน ได้แก่ สายการบินเจ็ตสตาร์แอร์เวย์  สายการบินมารินโด้แอร์  สายการบินสกู๊ด และสายการบินไทยแอร์เอเซีย นำผู้โดยสารสู่สิงคโปร์และมาเลเซีย

ด้านกายภาพ ทหญ. ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ห่างจากตัวเมืองหาดใหญ่ 12 กิโลเมตร บนพื้นที่ 2,970 ไร่ ของหมู่ที่ 3 ต.คลองหลา อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา โดยแบ่งพื้นที่การให้บริการออกเป็นดังนี้

-พื้นที่ในเขตการบิน (Airside)มีหลุมจอดอากาศยาน จำนวน 7 หลุมจอด รองรับเที่ยวบินได้ 12 เที่ยวบิน/ชั่วโมง

-พื้นที่นอกเขตการบิน(Landside) มีอาคารผู้โดยสาร สามารถรองรับได้ 205 ล้านคน/ปี   และคลังสินค้ารองรับการขนส่งได้ 13,800 ตัน/ปี พื้นที่จอดรถยนต์ 825 คัน

ปริมาณการจราจรทางอากาศของ ทหญ.ในปี 2560 มีจำนวนผู้โดยสาร 4.3 ล้านคน และในรอบ 10 เดือนของปีงบประมาณ 2561 (ตุลาคม 2560 – กรกฏาคม 2561) มีจำนวน 3.5 ล้านคน ซึ่งเทียบกันปีก่อนหน้านี้ลดลงร้อยละ 1.90 และยังคงเกินขีดความสามารถในการรองรับของอาคารผู้โดยสารส่งผลให้เกิดความแออัดในการให้บริการ แนวทางในอนาคต ทาง ทหญ.ได้ทำการวิเคราะห์และพยากรณ์ข้อมูลปริมาณการจราจรทางอากาศในอนาคตจนถึงปี 2581 พบว่า การเจริญเติบโตทางอากาศจะมีความคับคั่งมากยิ่งขึ้น  คณะกรรมการ ทอท.จึงได้ให้ความเห็นแผนพัฒนา ทหญ. เพื่อแก้ไขปัญหาความแออัดออกเป็นงานระยะเร่งด่วน และระยะที่ 1 

 แผนพัฒนาระยะสั้นเร่งด่วน ปี2561-2564 เพื่อแก้ปัญหาความแออัอ ให้ก่อสร้างอาคารบริการผู้โดยสารและปรับปรุงอาคารผู้โดยสารเดิม ถนนภายใน ย้ายจุดรักษาการณ์ช่องทางเข้า-ออก ทหญ. สร้างศูนย์รักษาความปลอดภัย อาคารจอดรถยนต์

แผนพัฒนา ทหญ. ระยะที่ 1 2564 – 2568  เป้าหมายโครงการพัฒนาเพื่อรองรับปริมาณจราจรทางอากาศได้ถึงปี 2581 รองรับผู้โดยสารได้ 10.5 ล้านคน/ปี

(กลุ่มงานที่1)  กลุ่มงานอาคารทดแทน งานย้ายระบบเครื่องช่วยเดินอากาศ(DVOR) งานก่อสร้างอาคารรองรับ VVIP  งานก่อสร้างอาคารคลังสินค้า

(กลุ่มงานที่2) . กลุ่มเขตการบิน งานก่อสร้างขยายลานจอดอากาศยานเดิม  งานก่อสร้างทางขับขนานบางส่วน พร้อมทางขับออกด่วน งานก่อสร้างทางขับและลานจอด VVIP 

(กลุ่มงานที่3) ส่วนงานอาคารผู้โดยสาร และอาคารสนับสนุน งานปรับปรุงอาคารผู้โดยสารเดิม ขยายอาคารด้านทิศตะวันตก

(กลุ่มงานที่4) ระบบสนับสนุนท่าอากาศยาน งานปรับปรุงถนนภายใน ทหญ.งานก่อสร้างลานจอดรถ งานปรับปรุงระบบน้ำ ไฟฟ้า ก่อสร้างศูนย์ขนส่งและสถานีดับเพลิง

  การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม ทหญ.ได้เข้าร่วมโครงการ Airport Carbon Accreditation ซึ่งจัดขึ้นโดย Airports Council International Europe (ACI Europe) โดย ทหญ.ได้จัดทำ Cabon footprint report ประจำปี 2556 และประสบความสำเร็จได้รับการรับรองในระดับที่ 1 ‘Mapping’ เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2557 หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2558 ได้รับการรับรองในระดับที่ 2 ‘Reduction’ โดยการจัดทำแผนบริหารจัดการคาร์บอน ที่แสดงให้เห็นถึงเป้าหมายและแนวทางในการลดการปล่อย Emission และในปี 2561 อยู่ระหว่างการยกระดับการรับรองในระดับที่ 3

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics