มรภ.สงขลา สอน นศ. ทำธุรกิจฟองยางเพื่อสุขภาพ

Spread the love

มรภ.สงขลา สอน นศ. ทำธุรกิจฟองยางเพื่อสุขภาพ

                มรภ.สงขลา ขานรับนโยบายสตาร์ทอัพ ไทยแลนด์ ดึงนักศึกษาฝึกทำธุรกิจฟองยางเพื่อสุขภาพ สร้างแรงบันดาลใจก้าวสู่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่

อ.เอกฤกษ์ พุ่มนก  ประธานโปรแกรมวิชาเทคโนโลยี ยางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงการอบรมทำธุรกิจฟองยางเพื่อสุขภาพให้แก่นักศึกษาปี 1-4 และคณาจารย์ในโปรแกรมฯ เมื่อเร็วๆ นี้ว่า วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เข้าอบรมและนำองค์ ความรู้ไปสู่การพัฒนาท้องถิ่น ตลอดจนเสริมสร้างทักษะความรู้ ในการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากฟองยางธรรมชาติได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็ นผลิตภัณฑ์ที่มี ความเหมาะสมในการรองรับสรี ระของมนุษย์ เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะในการนอนหลับ เนื่องจากมีความยืดหยุ่นสามารถรับน้ำหนักได้ดี ไม่ยุบตัวเมื่อต้องแบกรับน้ำหนักกดทับเป็นเวลานาน และโครงสร้างของฟองยังทำให้ อากาศไหลเวียนผ่านสู่ร่างกายมนุษย์ได้ดี ทำให้ไม่ร้อน นอนหลับสบาย

อ.เอกฤกษ์ กล่าวว่า โปรแกรมวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ เล็งเห็นถึงสมรรถภาพของนักศึกษาและอาจารย์ในองค์กรในด้านองค์ความรู้ด้านฟองยาง จึงจัดอบรมในครั้งนี้ขึ้นภายใต้ ความร่วมมือกับศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ (UBI) มรภ.สงขลา เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาและอาจารย์ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินธุรกิจที่นำองค์ ความรู้จากการศึกษาและงานวิจัยมาใช้ ซึ่งกลไกดังกล่าวจะก่อให้เกิดการพัฒนาหรือขับเคลื่อนโปรแกรมวิชาเทคโนโลยี ยางและพอลิเมอร์ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ นำไปสู่การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการเรียนรู้อย่างยั่งยืน และพัฒนานักศึกษาในโปรแกรมฯ ให้มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นถึงระดับการเป็นนักธุรกิจได้ ในอนาคต

ด้าน น.ส.อมราวดี วงศ์เทพ ผู้จัดการศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ในฐานะวิทยากร กล่าวว่า ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้และฝึ กปฏิบัติผ่านทางหลักสูตรต่าง ดังต่อไปนี้ 1. การสร้างแรงบันดาลใจในการเป็นผู้ประกอบการ 2. หลักและวิธีการเริ่มต้นธุรกิจ 3. การสร้างผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกั บความต้องการของตลาด 4. จัดทำบิสซิเนส โมเดล (Business Model) ให้กับนักศึกษา 5. การนำเสนอแนวคิดธุรกิจ 6. การเตรียมสารเคมีสำหรับน้ำยาง 7. หลักการทำโฟมยาง 8. การทดสอบผลิตภัณฑ์จากโฟมยาง และ 9. ฝึกปฏิบัติการทำโฟมยาง

น.ส.อมราวดี กล่าวอีกว่า การนำผลงานวิจัยและองค์ความรู้ ที่มีของมหาวิทยาลัยไปใช้ ประโยชน์ในทางธุรกิจ เพิ่มมูลค่าสินค้า ปัจจุบันมีความจำเป็นอย่างยิ่ งสำหรับประเทศไทย รัฐบาลจึงให้การสนับสนุนในการพั ฒนาบุคลากรที่จะเป็นผู้เริ่มและขับเคลื่อนธุรกิจที่เกิดจากองค์ความรู้ใหม่ให้เติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งเห็นได้จากการขับเคลื่อนนโยบายสตาร์ทอัพ ไทยแลนด์ (startup Thailand) ทำให้เกิดการตื่นตัวและได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศไทย ดังจะเห็นได้จากการจัดการประกวดธุรกิจสตาร์ทอัพ ที่เกิดขึ้นทุกปีในแต่ละมหาวิทยาลัยของไทย

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics