มรภ.สงขลา ทำเพจ ‘สื่อสารออนไลน์เชิงบวก’ ปลุกพลังเยาวชนชายแดนใต้สร้างมิติแห่งสันติภาพ

Spread the love

ภาคประชาสังคม มรภ.สงขลา ทำเพจ สื่อสารออนไลน์เชิงบวก

ปลุกพลังเยาวชนชายแดนใต้สร้างมิติแห่งสันติภาพ

 

                ภาคประชาสังคม มรภ.สงขลา สร้างเพจสื่อสารออนไลน์เชิงบวก ดึงเพื่อนเยาวชนชายแดนภาคใต้แสดงพลังเพื่อสันติภาพผ่านเฟซบุ๊ก บอกเล่าเรื่องราวการอยู่ร่วมกันด้วยสันติ      

                ดร.อาชารินทร์ แป้นสุข ผู้จัดการองค์กรพิเศษเครือข่ายภาคประชาสังคมเยาวชนการสื่อสารชายแดนใต้สู่สันติสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยถึงโครงการสร้างความเข้าใจกลุ่มเครือข่ายชายแดนภาคใต้ในการพัฒนาการประชาสัมพันธ์ออนไลน์เชิงบวกของเครือข่ายภาคประชาสังคม ที่มี น.ส.ทิพวรรณ ศรีแก้ว นักศึกษา มรภ.สงขลา เป็นหัวหน้าโครงการฯ ว่า จัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 พ.ย. ที่ผ่านมา ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) วิทยาเขตปัตตานี วัตถุประสงค์เพื่อใช้การสื่อสารสร้างความรักในพื้นที่ปลายด้ามขวาน นำไปสู่การสร้างสภาวะแวดล้อมให้เกื้อกูลต่อการพูดคุยเพื่อสันติสุข ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนงานตามแนวทางของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศ) ใน 10 ประเด็นคือ 1. งานรักษาความปลอดภัยชีวิตและทรัพย์สิน 2. งานอำนวยความยุติธรรมและเยียวยา 3. งานสร้างความเข้าใจทั้งในและต่างประเทศและเรื่องสิทธิมนุษยชน 4. งานการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 5. งานพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่และคุณภาพชีวิตประชาชน 6. งานแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติวิธี 7. งานขับเคลื่อนการพัฒนาโครงการเมืองต้นแบบ สามเหลี่ยม มั่งคง มั่งคั่ง ยั่งยืน 8. งานขับเคลื่อนนโยบายการแก้ปัญหา จชต.ปี6062 9. งานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และ 10. งานพัฒนาสร้างศักยภาพองค์กรภาคประชาสังคม

   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

            

  ดร.อาชารินทร์ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจาก ผศ.ดร.นิวัต กลิ่นงาม อธิการบดี มรภ.สงขลา และ ผศ.ฆนัท ธาตุทอง รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์การวางแผนและวิจัย ซึ่งในวันเปิดงานได้รับเกียรติจาก นายไกรศร วิศิษฏ์วงศ์ รองเลขาธิการ ศอ.บต. เป็นประธานเปิดงาน ภายในงานมีการปาฐกถาในหัวข้อ การสื่อสารเชิงบวกภาคประชาสังคมเยาวชน เพื่อใต้สันติสุข จาก พลเอกเลอชัย มาลีเลิศ ที่ปรึกษาฯ พลเอกอุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ ผศ.นิฟาริด ระเด่นอาหมัด ที่ปรึกษาผู้อำนวยการวิทยาลัยอิสลามศึกษาและอาจารย์พิเศษสาขาการสอนอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี และ พันเอกฐกร เนียมรินทร์ รองผู้อำนวยการ ศสว.กอ.รมน.ภาค 4 สน. กลุ่มเป้าหมายเป็นเยาวชนในพื้นที่ จ.สงขลา 50 คน (อ.เทพา อ.นาทวี อ.สะบ้าย้อย และ จะนะ) จ.ปัตตานี 100 คน จ.นราธิวาส 40 คน และ จ.ยะลา 40 คน รวมทั้งสิ้น 230 คน เป็นต้นแบบในการสื่อสารออนไลน์สู่สันติสุขผ่านเฟซบุ๊ก (facebook) ถือเป็นปรากฏการณ์ปฐมบทการสื่อสารโดยภาคประชาสังคมของเยาวชนชนในพื้นที่เป็นสำคัญ

                ด้าน น.ส.ทิพวรรณ ศรีแก้ว นักศึกษาชั้นปีที่ 2โปรแกรมนิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มรภ.สงขลา ในฐานะหัวหน้าโครงการฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการนี้มีคณะทำงานทั้งหมด11 คน เกิดขึ้นจากการเล็งเห็นถึงปัญหาการใช้สื่อออนไลน์อย่างถูกวิธี และผิดวิธี พวกตนจึงมีแนวคิดสร้างกลุ่มเพจในเฟซบุ๊กใช้ชื่อกลุ่มว่า สื่อสารออนไลน์เชิงบวก เพื่อให้สมาชิกซึ่งเป็นนักศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เผยแพร่ข่าวสารที่หน้าสนใจลงในเพจ และเเชร์ข้อมูลความรู้ให้แก่กัน เป็นการใช้สื่อออนไลน์อย่างเหมาะสมเเละกระจายข่าวสารที่ถูกต้อง ทั้งนี้ การจะพัฒนาการประชาสัมพันธ์ออนไลน์เชิงบวกของเยาวชนชายเเดนใต้ ต้องเริ่มจากการปลูกฝังทำความเข้าใจให้กับเยาวชนก่อน เพื่อจะพัฒนาการสื่อสารให้ดีขึ้นเเละถูกต้อง การจัดโครงการในครั้งนี้ถือว่าได้ผลลัพธ์ที่ดี เพราะนักศึกษาที่อยู่ในพื้นให้ความร่วมมืออย่างมาก และเห็นด้วยกับความคิดในการจัดทำโครงการนี้ขึ้นมา              

                “สิ่งที่คาดหวังคือผู้ที่เข้าร่วมโครงการนำความรู้เกี่ยวกับหลักการใช้สื่อออนไลน์ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และเผยแพร่ส่งต่อความรู้ความเข้าใจสู่เยาวชนรุ่นหลัง หนูเชื่อมั่นมากว่าโครงการนี้จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นได้ เพราะจากที่เราพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กันกับเพื่อนๆ นักศึกษา ทำให้ทราบถึงความคิดความรู้สึกของเพื่อนๆ มีต่อโครงการนี้ ทุกคนเห็นด้วยและช่วยกันโพสต์เรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับการพัฒนาเชิงบวกลงในกลุ่มเพจที่ทำขึ้น ซึ่งความร่วมมือนี้จะถูกส่งต่อไปยังรุ่นสู่รุ่นต่อไป” น.ส.ทิพวรรณ กล่าว

                ขณะที่ ดร.มุจลินทร์ ผลกล้า ที่ปรึกษาโครงการฯ กล่าวว่า โครงการนี้เป็นมิติใหม่แห่งการสร้างพลังการสื่อสารเพื่อสันติภาพแห่งชายแดนใต้ ตนรู้สึกภูมิใจที่ได้มาเป็นที่ปรึกษาฯ และได้เห็นนักศึกษาคิดรวมพลังกันเพื่อสื่อสารให้เห็นว่า จังหวัดชายแดนใต้ของตนนั้น มีศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ผลิตภัณฑ์ เศรษฐกิจ และแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอะไรบ้าง ซึ่งสอดคล้องตามที่ ศอ.บต. สนับสนุนประเด็นการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจทั้ง 10 ประเด็นสำคัญนี้อยู่ก่อนแล้ว โครงการนี้นับเป็นก้าวสำคัญแห่งการสื่อสาร บอกกล่าว เล่าความรู้สึกของตนเองออกสู่สังคมโดยใช้วิธีการสื่อสารออนไลน์ผ่านกลุ่มในเฟซบุ๊กเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เป็นนักคิด นักพัฒนาท้องถิ่น ตามพันธกิจของ มรภ.สงขลา ที่ว่า สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น สิ่งที่พวกเขาได้ทำขึ้นในโครงการนี้ คือสัญลักษณ์แห่งความรักและหวงแหนท้องถิ่นของตนนั่นเอง

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics