ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ปี 2559และแนวโน้มในปี2560

Spread the love

         วันที่ 2 ก.พ. 60 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้   นางสุรีรัตน์ ลัคนานิตย์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ปี 2559และแนวโน้มในปี2560 รวมแนวทางการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำท่วมพื้นที่ภาคใต้ 

 

 

 

 เรื่อง แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินเดือนธันวาคมและไตรมาสที่ 4 ปี2559  เศรษฐกิจไทยในเดือนธันวาคม 2559 ขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน จากการใช้จ่ายภาครัฐที่ขยายตัวสูง ทั้งรายจ่ายประจำและลงทุน และมูลค่าการส่งออกสินค้าที่ฟื้นตัวชัดเจนขึ้น สอดคล้องกับการผลิตในอุตสาหกรรมเพื่อ การส่งออกและการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

นอกจากนี้ ภาคการท่องเที่ยว กลับมาขยายตัวตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ได้รับผลดีจากมาตรการยกเว้นและลดค่าธรรมเนียมวีซ่าชั่วคราว สำหรับบางประเทศ ประกอบกับการบริโภคภาคเอกชนโดยรวมปรับดีขึ้นตามความเชื่อมั่นผู้บริโภค และผลของมาตรการ กระตุ้นการใช้จ่ายในช่วงปลายปี

  สำหรับการลงทุนภาคเอกชนมีทิศทางปรับดีขึ้นต่อเนื่องแต่ยังกระจุกตัวอยู่ในบางธุรกิจ ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนตามราคาน้ำมันขายปลีกใน ประเทศเป็นสำคัญ สำหรับอัตราการว่างงานที่ปรับฤดูกาลทรงตัวจาก     เดือนก่อน ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล ต่อเนื่องจากทั้งดุลการค้า และดุลบริการ รายได้ และเงินโอน

 รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจไทยมีดังนี้

การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวทั้งรายจ่ายประจำและลงทุน และยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจ โดยรายจ่ายประจำขยายตัวตามค่าใช้จ่ายดำเนินงานเพื่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ขณะที่รายจ่ายลงทุน ขยายตัวจากโครงการคมนาคมและระบบชลประทานที่เร่งเบิกจ่ายได้มากตามผลของมาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็ก และการเพิ่มประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณ

ด้านรายได้จัดเก็บของรัฐบาลหดตัวจากรายได้ที่ไม่ใช่ภาษีเป็นสำคัญ เนื่องจากฐานที่สูงในปีก่อนซึ่งมีการนำส่งรายได้จากการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 4G แต่หากหักผลดังกล่าว รายได้จัดเก็บของ รัฐบาลยังขยายตัวได้ตามภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เพิ่มขึ้นจากกำไรส่งกลับของบริษัทต่างชาติในไทย มูลค่าการส่งออกสินค้าฟื้นตัวชัดเจนขึ้น โดยในเดือนนี้ขยายตัวร้อยละ 5.6 จากระยะเดียวกันปีก่อน จาก

1) อุปสงค์ต่างประเทศในหลายสินค้าปรับดีขึ้นต่อเนื่อง อาทิ แผงวงจรรวม (IC) เพื่อผลิตสมาร์ทโฟน รถยนต์และ อุปกรณ์เพื่อรองรับ Internet of Things (IoT) สอดคล้องกับการขยายกำลังการผลิตในช่วงก่อนหน้า เครื่องใช้ไฟฟ้า ขยายตัวตามการส่งออกเครื่องปรับอากาศไปยังอินเดีย ประเทศในตะวันออกกลาง และเวียดนาม และการส่งออกแผง กำเนิดไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ไปยังสหรัฐฯ

2) อุปสงค์ที่เร่งขึ้นชั่วคราวจากการเร่งนำเข้าสินค้าจากจีน อาทิ ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางเพื่อใช้ผลิตยางล้อไปสหรัฐฯ และ

3) สินค้าที่ราคาส่งออกเคลื่อนไหวตามราคาน้ำมันดิบ ขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งราคาที่ปรับเพิ่มขึ้นหลังจากประเทศผู้ผลิตน้ำมันบรรลุข้อตกลงการลดกำลังการผลิต และปริมาณ ที่ขยายตัวจากการส่งออกผลิตภัณฑ์ใหม่ในกลุ่มสินค้าปิโตรเคมีไปจีน ทั้งนี้ การผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเล็กน้อย ตามการผลิตในหลายหมวดสินค้าสอดคล้องกับภาคการส่งออก

     อย่างไรก็ตาม การผลิตในกลุ่มยานยนต์หดตัวสูง เนื่องจากผู้ผลิตบางรายหยุดการผลิตเพื่อปรับเปลี่ยนสายการผลิตเป็นรถยนต์รุ่นใหม่

    สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าขยายตัวสูงที่ร้อยละ 10.5 จากระยะเดียวกันปีก่อน ตามการขยายตัวในทุกหมวด โดยเฉพาะหมวดวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางที่ขยายตัวตัวสูงต่อเนื่อง โดยการนำเข้าเชื้อเพลิงขยายตัวจากทั้งปริมาณเนื่องจาก ฐานที่ต่ำในระยะเดียวกันปีก่อน และราคาที่สูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบ การนำเข้าโลหะขยายตัวตามการผลิตเหล็กแผ่น สำเร็จรูปเพื่อใช้ในการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและเตรียมผลิตรถยนต์ และการนำเข้าชิ้นส่วนแผงวงจรรวม พลาสติก และ เคมีภัณฑ์ขยายตัวต่อเนื่องสอดคล้องกับแนวโน้มการส่งออกของสินค้าดังกล่าว 

     ภาคการท่องเที่ยวปรับดีขึ้นสะท้อนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่กลับมาขยายตัวได้ที่ร้อยละ 1.1 จาก ระยะเดียวกันปีก่อน และเมื่อขจัดผลของฤดูกาลจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 จากเดือนก่อน ตามจำนวน นักท่องเที่ยวจีนที่ปรับดีขึ้นบ้างหลังการปราบปรามทัวร์ผิดกฎหมายในช่วงก่อนหน้า ส่วนหนึ่งเป็นผลจากมาตรการยกเว้น และลดค่าธรรมเนียมวีซ่าเป็นการชั่วคราว  สำหรับบางประเทศโดยเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559

การบริโภคภาคเอกชนโดยรวมปรับดีขึ้นตามความเชื่อมั่นของผู้บริโภคด้านรายได้ในอนาคต สอดคล้องกับ ภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มปรับดีขึ้น นอกจากนี้ ยังได้รับผลดีจากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายและ การท่องเที่ยวในช่วงปลายปี อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนหดตัวจากผลของฐานที่สูงในระยะเดียวกันปีก่อน จากการเร่งซื้อรถยนต์ก่อนมีการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตในเดือนมกราคม 2559 การลงทุนภาคเอกชนมีทิศทางปรับดีขึ้นต่อเนื่อง ทั้งการลงทุนภาคการก่อสร้างและการลงทุนเครื่องจักรและ อุปกรณ์

อย่างไรก็ดี ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนยังคงหดตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนและกระจุกตัวอยู่ในธุรกิจ พลังงานทดแทน ธุรกิจบริการและขนส่ง และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับกับการส่งออกและการก่อสร้างของภาครัฐ

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 1.13 เร่งสูงขึ้นจากร้อยละ 0.60 ในเดือนก่อน ตามราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวตามต้นทุนโดยรวมและแรงกดดัน จากอุปสงค์ในประเทศยังต่ำ อัตราการว่างงานที่ปรับฤดูกาลทรงตัวจากเดือนก่อน ด่านดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดลุต่อเนื่อง จากทั้งดุลการค้าตามมูลค่าการส่งออกสินค้าที่ยังขยายตัว และดุลบริการ รายได้ และเงินโอน ตามรายรับภาคการท่องเที่ยว ที่ปรับดีขึ้นสอดคล้องกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น สำหรับดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลสุทธิจาก

1) การน ำเงินออกไปฝากในต่างประเทศของกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (FIF) โดยเฉพาะในฮ่องกง มาเก๊า และจีน และ

2) การออกไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศของภาคธุรกิจไทย (TDI) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการให้เงินกู้ยืมแก่บริษัทใน เครือธุรกิจอาหารในสหรัฐฯ  

   เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ขยายตัวต่อเนื่อง โดยการใช้จ่ายภาครัฐยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของ เศรษฐกิจ ขณะที่มูลค่าการส่งออกสินค้ามีทิศทางฟื้นตัวชัดเจนขึ้นทั้งด้านราคาและปริมาณ สอดคล้องกับการผลิตใน ภาคอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก อย่างไรก็ตาม ภาคการท่องเที่ยวชะลอลงตามจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่ได้รับผลกระทบ จากการปราบปรามทัวร์ผิดกฎหมาย ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนโดยรวมชะลอลงจากปัจจัยชั่วคราวในประเทศ อย่างไรก็ดี มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐในช่วงปลายปีมีส่วนช่วยพยุงการบริโภคภาคเอกชนได้บางส่วน ด้าน การลงทุนภาคเอกชนหดตัวในอัตราที่ลดลงแต่ยังจำกัดอยู่ในบางธุรกิจโดยเฉพาะภาคบริการ พลังงานทดแทน และ อุตสาหกรรมที่การส่งออกปรับดีขึ้น ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนตามราคา น้ ามันขายปลีกในประเทศและราคาอาหารสด อัตราการว่างงานที่ปรับฤดูกาลเพิ่มขึ้นเล็กน้อยแต่ยังอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่องจากดุลการค้าตามมูลค่าการส่งออกที่ปรับดีขึ้น

  แนวโน้มปี 2560  จะขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2559  ถึงแม้จะได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมที่ผ่านมา    โดยเครื่องยนต์หลักยังคงเป็ฯการใช้จ่ายภาครัฐ  เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่กลุ่มจังหวัดทั่วประเทศ รวมทั้งรายได้เกษตรกรปีนี้มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างชัดเจน โดยเฉพาะด้านราคา ส่งผลดีต่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การท่องเที่ยวคาดว่ายังขยายตัวได้จากนักท่องเที่ยวรัสเซียและยุโรปที่ยังเพิ่มขึ้น ส่วนนักท่องเที่ยวจีนคาดว่ายังขยายตัวแม้ว่าจะได้รับจากทัวร์ผิดกฏหมาย ส่วนเงินริงกิตยังคงอ่อนค่าส่งผลกระทบต่อนักท่องเที่ยวมาเลเซีย สำหรับการผลิตภาคอุตสาหกรรมคาดว่าจะขยายตัวจากปีก่อน โดยการผลิตถุงมือยางและไม้ยางพาราแปรรูปจะขยายตัวดีต่อเนื่อง ส่วนอาหารทะเลกระป๋องจะกลับมาฟื้นตัวได้บ้าง การส่งออกจะขยายตัวจากด้านราคาเป็นสำคัญ   

ส่วนแนวทางการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในภาคใต้ ทางสถาบันการเงินเฉพาะกิจหลายแห่งได้มีการออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบแล้ว และทางธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกหนังสือเพื่อขอความร่วมมือให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจทุกแห่งพิจารณาให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ตามความจำเป็นและเหมาะสม เช่น ดูแลและพิจารณาให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนและสภาพคล่องแก่ลูกหนี้เพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัย หรือให้สามารถประกอบอาชีพหรือดำเนินธุรกิจต่อไปได้ เช่น ให้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติม ลดหรือยกเว้นดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียม ผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ หรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้ พิจารณาปรับลดอัตราการผ่อนชำระหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำสำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบให้ต่ำลงได้ โดยให้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของสถาบันการเงินเฉพาะตามความจำเป็นของลุกหนี้

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics