ธปท. สำนักงานภาคใต้ แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ ไตรมาส 2 ปี 2562 และแนวโน้ม

Spread the love

วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม  2562  เวลา 09.30-11.30 น. ณ สถานสวัสดิสงเคราะห์ ธปท. สำนักงานภาคใต้ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา (หลังโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย)  ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)สำนักงานภาคใต้ ได้จัดกิจกรรม “แถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ ไตรมาส 2 ปี 2562 และแนวโน้ม” และผลการดำเนินงานการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ไตรมาส 2 ปี 2562   โดยนายสันติ   รังสิยาภรณ์รัตน์  ผู้อำนวยการอาวุโส ธปท. สำนักงานภาคใต้ 

 สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ ไตรมาสที่ 2 ปี 2562  ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ขยายตัวเล็กน้อยจากไตรมาสก่อน โดยภาคเกษตรเป็นตัวขับเคลื่อนสาคัญทางเศรษฐกิจ ซึ่งผลผลิตเกษตรเพิ่มขึ้นจากปาล์มน้ามันและยางพาราเป็นสาคัญ ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน ทาให้รายได้เกษตรขยายตัว อย่างไรก็ตาม ภาคการท่องเที่ยวและภาคการผลิตยังคงหดตัวจากอุปสงค์ต่างประเทศที่ชะลอตัว ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติและการผลิตสินค้าเพื่อส่งออกลดลง สาหรับอุปสงค์ในประเทศ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวดีขึ้น ตามการใช้จ่ายในภาคบริการด้านการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยเป็นสาคัญ สาหรับการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวใกล้เคียงไตรมาสก่อน ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐหดตัวต่อเนื่องทั้งรายจ่ายประจาและลงทุน ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อเร่งตัวจากไตรมาสก่อนตามราคาอาหารสดที่ปรับสูงขึ้นมาก สาหรับอัตราการว่างงานหลังปรับฤดูกาล
ลดลงเล็กน้อย

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคใต้มีดังนี้
มูลค่าการส่งออกหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.0 สอดคล้องกับการผลิตภาคอุตสาหกรรมซึ่งหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.9 จากเกือบทุกสินค้า โดยการผลิตเพื่อส่งออกยางพาราแปรรูปลดลงตามเศรษฐกิจของตลาดหลักจีนที่ชะลอตัว รวมถึงผลของฐานสูงจากการเร่งการส่งออกหลังสิ้นสุดมาตรการจากัดส่งออกยางแห้งในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปีก่อน ด้านอาหารทะเลกระป๋องหดตัวต่อเนื่อง เช่นเดียวกับอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งที่ลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขาดแคลนวัตถุดิบ อย่างไรก็ดี การผลิตน้ามันปาล์มกลับมาขยายตัวจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมาก รวมถึงการผลิตถุงมือยางขยายตัวต่อเนื่องจากตลาดสหรัฐอเมริกา ยุโรป และจีน ด้านการผลิตเพื่อส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปขยายตัวจากผลของฐานต่าในปีก่อนที่จีนเข้มงวดเรื่องการ
ตรวจสอบมลพิษที่เกิดจากโรงงานเป็นสาคัญ

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.4 จากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่ลดลงต่อเนื่อง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจจีนชะลอตัว โดยนักท่องเที่ยวจีนส่วนหนึ่งเปลี่ยนจุดหมายปลายทางไปยังประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีค่าใช้จ่ายท่องเที่ยวต่ากว่าไทย สำหรับจำนวนนักท่องเที่ยวมาเลเซียยังคงขยายตัวแต่ชะลอลงจากไตรมาสก่อน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากเงินริงกิตอ่อนค่า ตลอดจนเศรษฐกิจภายในประเทศมาเลเซียยังไม่เข้มแข็ง

ผลผลิตเกษตรเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.9 เร่งตัวจากไตรมาสก่อน ตามผลผลิตที่เพิ่มขึ้นในทุกสินค้าเกษตรหลัก โดยปาล์มน้ามันเร่งตัวสูงตามพื้นที่ให้ผลผลิต และปัจจัยชั่วคราวของฐานต่าจากการเหลื่อมฤดูกาลในปีก่อน ด้านผลผลิตยางพาราปรับเพิ่มขึ้นตามพื้นที่ให้ผลผลิต ประกอบกับผลผลิตกุ้งขาวขยายตัวชะลอลง เนื่องจากเกษตรกรมีความกังวลในเรื่องสภาพอากาศที่ร้อนจัด ด้านราคาสินค้าเกษตรหดตัวร้อยละ 1.1 แต่ปรับดีขึ้นจากไตรมาสก่อน เนื่องจากราคายางเพิ่มขึ้นตามผลผลิตโลกที่ลดลงเนื่องจากเกิดโรคระบาดในประเทศอินโดนีเซีย ขณะเดียวกันราคากุ้งขาวเพิ่มขึ้นจากผลผลิตในประเทศอินเดียได้รับผลกระทบจาก2พายุไซโคลนในเดือน พ.ค. ขณะที่ราคาปาล์มน้ามันยังหดตัวสูงจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมาก ประกอบกับสต๊อกน้ามัน
ปาล์มดิบไทยและมาเลเซียอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวที่ร้อยละ 14.6


เครื่องชี้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.6 และปรับดีขึ้นจากไตรมาสก่อน โดยการใช้จ่ายในหมวดบริการด้านการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวไทยขยายตัวดี ด้านการใช้จ่ายสินค้ากึ่งคงทนทรงตัว อย่างไรก็ตาม การใช้จ่ายสินค้าในชีวิตประจาวันหดตัวเล็กน้อย ขณะเดียวกันการใช้จ่ายสินค้าคงทนหมวดยานยนต์หดตัวตามยอดจดทะเบียนรถจักรยานยนต์เป็นสาคัญ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากกาลังซื้อนอกภาคเกษตรที่ยังไม่เข้มแข็งเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.0 สะท้อนจากการเพิ่มขึ้นของ
มูลค่านาเข้าสินค้าทุนในอุตสาหกรรมน้ายางข้น และไม้ยางพาราแปรรูปและผลิตภัณฑ์ ประกอบกับการลงทุนภาคก่อสร้างที่ขยายตัวต่อเนื่อง ตามการเพิ่มขึ้นของยอดขายปูนซีเมนต์และพื้นที่ขออนุญาตก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัยและการบริการในหมวดโรงแรม


การใช้จ่ายภาครัฐหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.6 ตามการลดลงทั้งรายจ่ายประจาและรายจ่ายลงทุน โดยรายจ่ายประจำลดลงร้อยละ 9.3 ในหมวดเงินอุดหนุนทั่วไปของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มหาวิทยาลัยทักษิณ และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ส่วนรายจ่ายลงทุนลดลงร้อยละ 7.8 ตามการเบิกจ่ายที่ลดลงในหมวดครุภัณฑ์ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย นอกจากนี้ ในหมวดที่ดินและสิ่งก่อสร้างมีการเบิกจ่ายลดลงจากงบกลางและงบกลุ่มจังหวัดทั้ง3 กลุ่มในภาคใต้เป็นสำคัญ


เสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 0.62 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.40 ในไตรมาสก่อนตามราคาอาหารสด โดยเฉพาะผักสดที่ได้รับผลจากอากาศร้อนจัดซึ่งทาให้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง สาหรับอัตราการว่างงานที่ปรับฤดูกาลแล้วอยู่ที่ร้อยละ 1.2 ลดลงจากร้อยละ 1.5 ในไตรมาสก่อน สอดคล้องกับจำนวนผู้มีงานทำที่ปรับฤดูกาลแล้วซึ่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2562 เงินฝากทั้งระบบเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.5 โดยเป็นการขยายตัวของเงินฝากจากส่วนราชการเป็นสาคัญ ด้านสินเชื่อคงค้างทั้งระบบเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.1 ตามการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากมีการรับโอนพอร์ตสินเชื่อเช่าซื้อจากบริษัทในเครือ แต่หากไม่นับรวมรายการโอนดังกล่าว สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ขยายตัวเพียงเล็กน้อย สำหรับสินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) เพิ่มขึ้นจากสินเชื่อประเภทเงินให้กู้ระยะยาวแก่เกษตรกร

 

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics