คณะศิลปศาสตร์ ม.อ.หาดใหญ่ จัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 11

Spread the love

วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม  2562 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ คณะศิลปศาสตร์ มอ.หาดใหญ่ ได้ร่วมกับสถาบันชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ Faculty of Defence Studies and Management, National Defence University of Malaysia ประเทศมาเลเซีย สถานวิจัยนวัตกรรมทางการศึกษาและการเรียนการสอนที่เป็นเลิศ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และภาคีเครือข่าย   ความร่วมมือ ได้แก่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ School of Humanities, Universiti Sains Malaysia ประเทศมาเลเซีย ภายใต้หัวข้อ “สังคมโลกยุคดิจิตัล: ผลกระทบ ต่อมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์”  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้กับนักวิชาการ นักวิจัย และนักศึกษาบัณฑิตศึกษาได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ อีกทั้งเป็นการเผยแพร่งานวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน คือ Prof. Steve McCarty, Kansai University ประเทศญี่ปุ่น ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “Disruptive Technology and the Calling of Humanities and Social Sciences” และ Lieutenant General Dato’ Hj Abdul Halim   bin Hj Jalal, National Defence University of Malaysia ประเทศมาเลเซีย ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “Digitalized and Globalized World of Opportunities and Risks” รวมทั้งมีนิทรรศการ ทางวิชาการต่างๆ

การประชุมวิชาการในครั้งได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมทั้งชาวไทยและ ชาวต่างประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 165 คน โดยเป็นผู้เข้าร่วมชาวไทย จำนวน 128 คน ผู้เข้าร่วม ชาวต่างประเทศ จำนวน 37 คน ได้แก่ผู้เข้าร่วมจากประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย ดูไบ แคนาดา และญี่ปุ่น มีผู้เข้าร่วมนำเสนอผลงานทางวิชาการ จำนวน 58 บทความ

 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในการก้าวสู่การเป็นคณะชั้นนำทางวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในระดับชาติและนานาชาติ  โดยมุ่งมั่นจัดการศึกษาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การสร้างองค์ความรู้ การบริการวิชาการที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน และสังคม เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาพัฒนาผลงานวิชาการและผลงานวิจัยให้ก้าวสู่ความเป็นนานาชาติมากยิ่งขึ้น

คณะศิลปศาสตร์ร่วมกับ Faculty of Defence Studies and Management, Defence University of National Malaysia  สถานวิจัยนวัตกรรมทางการศึกษาและการเรียนการสอนที่เป็นเลิศ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ และภาคีเครือข่ายความร่วมมือทางด้านวิจัยและวิชาการ  กำหนดจัดโครงการประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 11 ขึ้น เพื่อเป็นเวทีให้นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จากทั้งในและต่างประเทศได้ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ทางวิชาการ การเผยแพร่องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ด้านการเรียนการสอนและการวิจัย

รายชื่อผู้มีเกียรติในการประชุม

  1.  กล่าวเปิดงาน      โดย อาจารย์พิชิต เรืองแสงวัฒนา         รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  1.  กล่าวรายงาน       โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กานดา จันทร์แย้ม  คณบดีคณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  1. ประธานโครงการ  โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เข็มทอง  สินวงศ์สุวัฒน์  รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา  คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  1.  ผู้บรรยายพิเศษ (Keynote Speaker) จำนวน 2 ท่าน คือ

4.1  Prof. Steve McCarty, Kansai University

ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “Disruptive Technology and the Calling of Humanities and Social Sciences”

4.2  Lieutenant General Dato’ Hj Abdul Halim bin Hj Jalal  National Defence University of Malaysia

ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “Digitalized and Globalized World of Opportunities and Risks”

 

โครงการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ

ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 11 ประจำปี 2562

หลักการและเหตุผล

คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ในการก้าวสู่การเป็นคณะชั้นนำทางวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในระดับชาติและนานาชาติ  โดยมุ่งมั่นจัดการศึกษาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ การสร้างองค์ความรู้ การบริการวิชาการที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนและสังคม ซึ่งได้กำหนดกิจกรรมต่าง ๆ ในการดำเนินงานและความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาพัฒนาผลงานวิชาการและผลงานวิจัยให้ก้าวสู่ความเป็นนานาชาติมากยิ่งขึ้น  

คณะศิลปศาสตร์ร่วมกับ Faculty of Defence Studies and Management, Defence University of National Malaysia  และภาคีเครือข่ายความร่วมมือทางด้านวิจัยและวิชาการ กำหนดจัดโครงการประชุมวิชาการระดับนานาชาติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 11 ขึ้น เพื่อเป็นเวทีให้นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา จากทั้งในและต่างประเทศได้ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้  ประสบการณ์ทางวิชาการ การเผยแพร่องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ด้านการเรียนการสอนและการวิจัย สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาองค์กร สถาบัน และประเทศชาติ ตลอดจนนำไปสู่การ สร้างความร่วมมือและการพัฒนาตนเองให้ก้าวไปสู่มาตรฐานการเป็นนักวิชาการที่ดีต่อไป

วัตถุประสงค์

  1.  เพื่อเป็นเวทีให้ อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และนักศึกษาจากทั่วโลกได้เผยแพร่ผลงานทางวิชาการและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในมิติที่หลากหลาย
  2.  เพื่อพัฒนาให้อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และนักศึกษาขับเคลื่อนความรู้ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์สู่สากล
  3.  เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาทั่วโลก

ประเภทบทความ

เปิดรับบทคัดย่อและบทความฉบับสมบูรณ์ในทุกสาขาวิชาที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับมนุษยศาสตร์  สังคมศาสตร์ ภาษาและภาษาศาสตร์ และ กลุ่มบทความที่มีความเกี่ยวข้องกับประเด็นด้าน Global Digital Society: Impacts on Humanities and Social Sciences  แบ่งเป็น

  1. บทคัดย่อ  กรณีเจ้าของผลงานจะร่วมนำเสนอผลงาน  แต่ไม่ประสงค์จะตีพิมพ์บทความฉบับสมบูรณ์  บทคัดย่อจะได้รับการประเมินคุณภาพจากกองบรรณาธิการที่มีความเชี่ยวชาญและได้รับการตีพิมพ์ในหนังสือรวมบทคัดย่อเท่านั้น จะไม่ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings)
  2. บทความฉบับสมบูรณ์ กรณีเจ้าของผลงานจะร่วมนำเสนอผลงานและตีพิมพ์บทความฉบับสมบูรณ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) บทความจะได้รับการประเมินคุณภาพจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญ  บทความที่ผ่านเกณฑ์การประเมินจะได้รับให้ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุม และบทความที่ได้รับการคัดเลือกจะได้รับการตีพิมพ์ในวารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (TCI กลุ่มที่ 1)

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.iw2.libarts.psu.ac.th/registration/index.php

ระยะเวลาดำเนินการและสถานที่

4.1 วันที่ 2 พฤษภาคม 2562 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

4.2 วันที่ 3 พฤษภาคม 2562 ณ คณะศิลปศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. มีเวทีการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัยและเกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิชาการ ตลอดจนกระตุ้นให้เกิดความสนใจและการเคลื่อนไหวทางวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มากยิ่งขึ้น  
  2. อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษาและผู้สนใจจากสถาบันต่าง ๆ ทั่วโลกเกิดการขับเคลื่อนองค์ความรู้ด้านวิชาการทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์สู่สากล
  3. เกิดเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการนักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

     4. เกิดการพัฒนาคุณภาพผลงานวิชาการ ผลงานวิจัย และศักยภาพด้านการวิจัยของอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป เพื่อสร้างความ พร้อมในการเป็นนักวิชาการที่มีมาตรฐานต่อไป

และพบกันในการประชุมครั้งต่อไป   ในปี 2563 ซึ่งจะจัดที่ประเทศมาเลเซีย 

Facebook Comments Box


Spread the love

Written by 

Related posts

Verified by ExactMetrics